พระ 25 พุทธศตวรรษ


พระ 25 พุทธศตวรรษ
พระ 25 พุทธศตวรรษ
พระ 25 พุทธศตวรรษ


 
 ชื่อรายการ :   พระ 25 พุทธศตวรรษ
 รายละเอียด :
พระ 25 พุทธศตวรรษ หรือ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงวันนี้เข้า 61 ปีแล้ว สำหรับพระชุดนี้ พิธียิ่งใหญ่ และดีที่สุดแห่งยุค *** ...องค์นี้ปิดทองเก่า((บล็อกกาบหมากนิยมครับ)) มวลสารเข้มข้น แร่ผุดทั่วองค์ ขึ้นกล้องส่องมันส์ สวยสมบูรณ์ แท้ดูง่าย สุดยอดพุทธคุณ และสุดยอดเกจิอาจารย์ (พระครูภาวนาภิมนฑ์)...หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง ท่านนับเป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่านพบหลวงปู่สุข ***คราวปลุกเสกงาน25พุทธศตวรรษ ที่ท้องสนามหลวง*** ขณะนั้นหลวงปู่โต๊ะ ท่านดังมาก ซึ่งเวลาพักจากปลุกเสกในพิธีนี้ หลวงปู่โต๊ะท่านทราบได้ด้วยจิต ว่าหลวงปู่สุขท่านเก่งมากมีพลังจิตแก่กล้ามาก เวลาพักปลุกเสกท่านให้ลูกศิษย์พาเข้าไปกราบหลวงปู่สุขเลย และขอฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งภายหลังท่านได้ต่อวิชาหลายอย่างจากหลวงปู่สุข ขณะปลุกเสกงาน25พุทธศตวรรษนั้น ฝนตกหนัก ลูกศิษย์ท่านก็เอาใบจากมาทำเพิงบังฝน ลูกศิษย์เปียกปอนกันหมด แต่หลวงปู่สุขท่านจีวรไม่ได้เปียกฝนเลยแม้แต่น้อย จนเป็นที่กล่าวขานถึงความศักสิทธิ์ หลวงปู่สุขท่านเป็น"พระอรหันต์"ในที่ห่างไกลความเจริญ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่อินทร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อคงวัดถนนหักใหญ่ ซึ่งหลวงพ่อคงท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ เคยมีคนเอาของของท่านไปลอง เป็นเครื่องยาสมุนไพรเป็นว่าน ท่านเอามาห่อผ้าให้คนเอาไปใช้บูชา ดีทางมหาอุดมาก ยิงไปนัด1นัด2ไม่ออก พอนัด3ปืนแตก มือแหก การเสกของท่านคล้ายกันกับหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค คือจับๆแล้วเป่าๆแค่นั้น ...ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนา ยุคกาลได้ล่วงพ้นเป็นเวลา “2,500 ปี” รัฐบาลสมัยนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดงานฉลองทั้งภาครัฐบาลและประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรโดยในกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ที่ ท้องสนามหลวง เป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเรียกว่างาน “เฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (ในช่วงเทศกาลวันวิสาขบูชา) ส่วนการเฉลิมฉลองใน ภาคประชาชน จัดให้มีการ สวดมนต์ภาวนา, รักษาศีล, ทำบุญทำทาน ทางด้าน ภาครัฐบาล จัดให้มีการ บูรณะวัดและปูชนียสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนาพร้อม การอภัยโทษปลดปล่อยผู้ต้องหา และการ นิรโทษกรรมและล้างมลทิน แก่ผู้กระทำความผิดบางจำพวกและการจัดสถานที่อันเป็นการ อภัยทานแก่สัตว์ เพื่อปลอดจากการถูกทำลายล้างชีวิตโดยได้ทำการเผยแพร่การจัดงานไปยังนานาประเทศ พร้อมเชิญผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์การทางพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ มาร่วมพิธีฉลองด้วย “วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระศรีศากยะมุนี แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 4 นาที 8 วินาทีถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์” และทรงพิมพ์พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์” เป็นปฐม ฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรและดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำสังข์ เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะถวายอดิเรก จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระสงฆ์ 25 รูปเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ 108 รูป” นั่งปรกปลุกเสกสรรพสิ่งของบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน” จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระเครื่อง “ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีความเป็นสิริมงคลที่สำคัญยิ่งอีกรุ่นเพราะได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯจาก พระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และกดพิมพ์พระเครื่อง “เนื้อดินผสมผง” (พิมพ์ปางลีลา) เป็นปฐมฤกษ์ อีกทั้งได้ทราบการพิมพ์พระเครื่องและพระพุทธรูปดังกล่าวล้วนจัดสร้างขึ้นที่ วัดสุทัศน์ฯ ดังบันทึกในหนังสือเล่มเดียวกันว่า “คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้สร้างโรงงานให้ผู้รับจ้างพิมพ์พระได้ทำงานอยู่ในบริเวณวัดสุทัศน์ เทพวราราม ด้วยประสงค์จะให้พระพุทธรูปดังกล่าวได้จัดทำอยู่ในปริมณฑลพิธี หรือในเขตพระอารามโดยตลอดและสะดวกต่อการควบคุมดูแล เพราะใช้เวลาสร้างพระเครื่อง 3 เดือนเศษ จึงแล้วเสร็จ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ 2” ในการจัดสร้างพระ25พุทธศตวรรษนั้น มีพิธีมหาพุทธาภิเษกถึง 2 ครั้ง ครั้งที่1.พิธีพุทธาภิเษกมวลสารทั้งหมดที่นำมาใช้ในการจัดสร้าง ในระหว่างวันที่ 9 –12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยทรงกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์และเททองในพิธีพุทธาภิเษกมวลสาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ครั้งที่2.พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อได้จัดสร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ในพิธีแต่ละครั้งได้นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจากทุกนิกายทั่วประเทศรวมทั้งหมด 108 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยกระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม หากจะกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของพิธีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯประกอบพิธี เททองหล่อ และ กดพิมพ์พระเนื้อดิน เป็นปฐมฤกษ์แล้วก็สามารถพูดได้ว่าในสมัย รัตนโกสินทร์ ไม่มีพิธีการจัดสร้าง พระเครื่อง ครั้งใด ที่ยิ่งใหญ่เหมือนพิธีสร้าง “พระฉลอง 25 ศตวรรษ” ในปี พ.ศ.2500 อีกแล้วเพราะเป็นการสร้างพระเครื่องที่มีจำนวนนับ “ล้าน ๆ องค์” แล้วยังเป็นการสร้างด้วย เจตนาอันบริสุทธิ์ อีกทั้งพระคณาจารย์ที่มาร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกก็มีจำนวนมากถึง 108 รูป โดยบันทึกการจัดสร้างได้ระบุจำนวนการสร้าง พระเนื้อชิน ที่ประกอบด้วยมวลสารของโลหะหลายอย่างเช่น พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ และ แผ่นเงิน, ทองแดง ที่พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วประเทศทำการลงอักขระยันต์มาแล้ว ยังมีชนวนหล่อพระในพิธีอื่น ๆ พร้อมผงตะไบ “พระกริ่งนวโลหะ” ทั้งของ สมเด็จพระสังฆราชแพ และ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ มาเป็นชนวนในการสร้างที่มากถึง 2,421,250 องค์ ส่วน พระเนื้อดินผสมผงเกสร ก็มีมวลสารที่ประกอบด้วยดินจาก ทะเลสาบสงขลาเกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นส่วนผสมหลักเนื่องจากดินที่เกาะยอเนื้อละเอียดมีลายเป็นพรายน้ำในตัวและมีสีเหลืองนวลคล้าย พระซุ้มกอ, พระลีลาเม็ดขนุน โดยนำมาผสมกับผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด แล้วยังมี ว่านต่าง ๆ พร้อม ดินหน้าพระอุโบสถ, ดินหน้าพระอารามสำคัญ ของแต่ละจังหวัดและดินจากบริเวณที่ประดิษฐาน พระประ ธานพุทธมณฑล รวมทั้ง ดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล (ประสูติ-ตรัสรู้-ปฐมเทศนา-ปรินิพพาน) จากประเทศอินเดีย โดยมี ผงพุทธคุณ จากพระคณาจารย์ 108 รูป ผงพระเครื่องที่ชำรุดเช่น พระสมเด็จวัดระฆัง, พระรอด, นางพญา, ผงสุพรรณ, ซุ้มกอ, กำแพงลีลาเม็ดขนุน, ขุนแผนบ้านกร่าง ฯลฯ รวมทั้ง ผงตะไบพระกริ่งนวโลหะ ของ สมเด็จพระสังฆราชแพ, เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ ดังกล่าวข้างต้น (เนื่องจากการสร้างพระ 25 พุทธศตวรรษเนื้อดินผสมผงตั้งโรงงานสร้างขึ้นในบริเวณวัดสุทัศน์ฯ) ก็สร้างด้วยจำนวนมากเท่ากับเนื้อชินคือ 2,421,250 องค์ ซึ่งพอสร้างเสร็จและนำเข้าเตาเผาก็จะปรากฏเป็นสีที่แตกต่างกันเช่น ดำ, น้ำตาลไหม้, เทา, เขียว, ขาวนวล, พิกุลแห้ง, หม้อใหม่, ครีม, ชมพู รวมทั้ง เนื้อสองสี (ที่เรียกว่าเนื้อผ่าน) และหากตั้งข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าสีขององค์พระจะคล้ายกับพระที่สร้างในยุคโบราณทั้ง พระรอด, พระคง, พระเปิม และ พระบาง รวมทั้งพระเนื้อดินเผาสกุล นางกำแพง, ผงสุพรรณ และพระกรุของเมือง อยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อที่ควรบอกกล่าวเพิ่มเติมคือ พระเนื้อดินผสมผงเกสร ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากและเรียกว่า “เนื้อแร่” นั้นเนื่องจากทั่วองค์พระจะปรากฏมีแร่ผุดออกมาจากเนื้อพระมีสีดำคล้าย แร่ศิลาแลง เป็นปื้นสีดำเป็นก้อน ๆ และมีความแข็งแกร่งมากซึ่งแท้ที่จริงแล้วเนื้อแร่ที่ว่านี้คือ ผงตะไบพระกริ่งเนื้อนวโลหะ ของ สมเด็จพระสังฆราชแพ, เจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ และผงตะไบพระพุทธรูปอื่น ๆ ที่นำมาเป็นส่วนผสมและเมื่อนำไปเผาด้วยความร้อนสูง จึงทำให้ผงตะไบหลอมละลายผุดทะลุเนื้อพระออกมาราวกับลาวาไหลออกมาจากภูเขาไฟอย่างไรอย่างนั้น (เพราะมักปรากฏมีรูตรงกลางก้อนนวโลหะอันเป็นช่องให้โลหะที่หลอมละลายปะทุไหลออกมาจากภายในองค์ พระ) ซึ่ง ไม่ใช่เนื้อแร่อะไรเลย และสามารถพิสูจน์ได้โดยใช้เข็มสะกิดดูหรือฝนดูก็ได้ (ถ้าไม่กลัวพระหักชำรุด) จะพบว่าเนื้อในมีสีจำปาชัดเจนมาก ปัจจุบันพระ “เนื้อแร่” ได้รับความนิยมสูงราคาเช่าบูชาจะสูงกว่า เนื้อดินสีธรรมดา จะเป็นรองก็เพียง เนื้อสีดำ, สีช็อกโกแลต เท่านั้น จึงขอให้นักสะสมเข้าใจด้วยว่าพระ “เนื้อแร่” นี้สมควรเรียกว่า “เนื้อผสมนวโลหะ” น่าจะเหมาะสมกว่าโดยสามารถใช้ เครื่องยิงโลหะพิสูจน์ดูได้ เพราะปัจจุบันในเว็บไซต์ต่างๆ มักนำพระเนื้อโลหะไปเข้าเครื่องยิงโลหะเพื่อทดสอบดูว่ามีทองคำผสมอยู่หรือไม่ ส่วนความสำคัญในการสร้าง “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” แบบโบราณ คณะผู้จัดสร้างก็มีการ “มองการณ์ไกล” ดังนี้ 1.เป็นการจัดสร้างด้วยศิลปะ “ยุครัตนโกสินทร์โดยแท้” ที่มี ศ.ศิลป พีระศรี ออกแบบให้เป็นการสร้าง “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์” อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความ เจริญก้าวหน้า ตามที่นักสะสมยุคเก่านิยมกันว่า “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนเนื้อดิน” ซึ่งก็คือพระ ยุคสุโขทัย ที่ใครมีบูชาแล้วจะทำให้ “มีความเจริญก้าวหน้า” ดังนั้น “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษเนื้อดิน” ก็คือ “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนยุครัตนโกสินทร์” และ “พระกำแพงขาว” ก็คือ “พระกำแพงเนื้อชินยุคสุโขทัย” ดังนั้น “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษเนื้อชิน” ก็คือ “พระกำแพงขาวยุครัตนโกสินทร์” ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียน มิได้บัญญัติขึ้นเอง เป็นนักสะสมยุคเก่าบัญญัติไว้นานแล้วที่ ผู้เขียนก็เห็นด้วย แต่เป็นการบัญญัติที่มิได้แพร่หลายประกอบกับพระชุดนี้ยังไม่ได้รับความนิยมมากมายอะไรจึงไม่ค่อยมีผู้ใดสนใจเท่านั้นเอง 2. “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษเนื้อดิน” มีความสำคัญตรงที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ประกอบพิธีกดพิมพ์เป็น ปฐม ฤกษ์ จึงย่อมมี พระมหากษัตริยาธิคุณ อยู่ในองค์พระที่นับเป็นมงคลอันสูงสุดเช่นกันกับ “พระกำ แพงลีลาเม็ดขนุน” ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ “พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย” ฉะนั้น “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” จึงถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ-พระธรรมคุณ-พระสังฆคุณ และ พระมหากษัตริยาธิคุณ อีกทั้งอายุการสร้างก็ยาวนานถึง 49 ปี แล้วและมวลสารที่ประกอบเป็นองค์พระทั้ง เนื้อดินและเนื้อชิน ก็ล้วนแต่เป็นมวลสารที่ทรงคุณค่าและมีมงคลรวม ทั้งเป็นพระที่มีจำนวนมากนับล้าน ๆ องค์ นักปั่นราคาจึงหมดสิทธิปั่นราคายกเว้น “เนื้อทองคำ, นาก, เงิน” ที่สร้างจำนวนน้อยราคาจึงสูงไปตาม ความหายาก ผู้เขียนจึงขอย้ำพระเครื่องชุดนี้เหมาะกับยุค“เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริโดยแท้จริงเพราะเป็นที่ยอมรับจากผู้มีประสบการณ์มาแล้วมากมายว่ามีพุทธคุณ ครบทุกด้าน ทั้ง เจริญก้าวหน้า, เมตตามหานิยม, ป้องกันคุณไสย, ระงับภัยพิบัติ โดยเฉพาะในเรื่อง คงกระพันชาตรี มีให้เห็นเป็นประจำอย่างเช่น นักเรียนอาชีวะเกเร ที่ชอบก่อเรื่องตีกัน หลาย ๆ คนแคล้วคลาดปลอดภัยรวมทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ทหารที่ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดนระเบิดชนิดรถปิกอัพขาดเป็น 2 ท่อน แต่พลขับก็ปลอดภัยเพราะแขวน “พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” ซึ่งเรื่องนี้มีพยานยืนยันได้ทั้งนี้เป็นเพราะมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณร่วมพิธีพุทธาภิเษกถึง 108 รูป ส่วนความสวยงามก็เป็นงานสร้างด้วยฝีมือ ช่างหลวง จึงมีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครมีแต่ถูกนำไปเลียนแบบ เพราะเป็น “ศิลปะอันบริสุทธิ์” ที่แสดงถึงยุคสมัยปัจจุบัน
 ราคา :   1000
 
 ร้าน :   อ็อด ท.อ  
 เบอร์โทรติดต่อ :   0931379080
 E-mail :   Surichai2828@gmail.com

 วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด :   3 มี.ค. 2561 15:27:24